1.6.53

ทำบุญอย่างไรให้ได้บุญมาก

         
            ปัจจุบันพวกเราชาวพุทธทั้งหลาย ยังมีความเข้าใจเรื่องการทำบุญที่ถูกวิธีน้อยมาก  ดังนั้น การทำบุญจึงทำกันมาตามที่บรรพบุรุษ หรือ คนทั้งหลายเขาทำกัน การทำบุญถ้าเปรียบเหมือนการลงทุนทำการค้า  ลงทุนไปเท่ากันแต่ผลกำไรได้กลับมาไม่เท่ากัน  ผู้รู้ธรรมะมีปัญญาพึงทำบุญให้ถูกวิธี  เพราะบางทีการทำบุญผิดวิธีนั้น  นอกจากจะไม่ได้บุญ ได้บุญน้อย  หรืออาจจะได้บาปไปแทนก็ได้

            การทำบุญมีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 อย่าง คือ

1.วัตถุทานต้องได้มาโดยชอบ ไม่ได้มาโดยเบียดเบียนผู้อื่น ถือเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์

2.เจตนาในการทำบุญต้องบริสุทธิ์ คือมีเจตนาทานด้วยจิตยินดี เป็นกุศล ไม่กังวล ไม่มัวหมอง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้คือ

1. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉานได้บุญ 100 เท่า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื่อนาบุญที่ดี

2. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีลได้บุญ 1,000 เท่า ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้จะให้เพียงครั้งเดียว

3. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 5ได้บุญ 10.000 เท่า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

4. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 8 ได้บุญ 100,000 เท่าขึ้นไป แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้ที่มีศีล 10 คือสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทายเพียงครั้งเดียวก็ตาม(ทำทานให้กับมนุษย์ที่รักษาศีลอุโบสถ ได้บุญ 100,000 เท่า)

5. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล 10 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฎิโมกข์สังวร 227 ข้อ

พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฎิโมกข์สังวร 227 ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียง "พระสมมุติ" เท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุธรรม ตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและย้อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

6. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ที่มีศีลครบ 227 ข้อได้บุญอย่างน้อย 1 ล้านเท่า เป็นอย่างน้อย
 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้รับบุญน้อยกว่าถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม(ความจริงยังมีการแยกเป็น พระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหันตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)

7. ถวายทานแก่พระโสดาบันได้บุญอย่างน้อย 10 ล้านเท่าเป้นอย่างน้อย แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว

8. ถวายทานแก่พระสกิทาคามีได้บุญอย่างน้อย 100 ล้านเท่าเป็นอย่างน้อย แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว

9. ถวายทานแก่พระอนาคามีได้บุญอย่างน้อย 1,000 ล้านเท่าเป็นอย่างน้อย  แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว

10. ถวายทานแก่พระอรหันต์ได้บุญอย่างน้อย 10,000 ล้านเท่า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว

11. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บุญอย่างน้อย 100,000 ล้านเท่าเป็นอย่างน้อย แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว

12. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บุญอย่างน้อย 1,000,000 ล้านเท่าเป็นอย่างน้อย แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานคณะสงฆ์ที่มี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว

13. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง อันเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

14. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง(100 หลัง) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งขึ้นไป ให้ได้เข้าใจในมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ (อานิสงส์การให้ธรรมเป็นทาน..พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าแม้ให้พระพุทธเจ้าพระ ปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกนั่งเรียงกันจากโลกมนุษย์ไปจนถึงพรมโลก แล้วถวายผ้าไตรครบทุกองค์ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน)

อย่างไรก็ดี การให้ธรรมทาน แม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า"ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน

   สรุป
 การทำทานจะได้บุญมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย 3 ประการ คือ


1.ผู้ให้ทานมีเจตนาบริสุทธิ์
2.สิ่งที่ให้ทานนั้นได้มาด้วยความบริสุทธิ์ไม่ได้เบียดเบียนใครมา
3.จะได้บุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้รับ ว่ามีศีลมากหรือน้อยเพียงใด ดังข้างต้น

  การจะทำบุญพระ พุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่สามารถทำได้แล้ว จะไปทำบุญกับพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี หรือ พระโสดาบัน ก็ไม่รู้พระรูปไหน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงบัญญัติไว้ว่า ให้ทำสังฆทานกับพระสมมุติสงฆ์(พระตามวัดที่เราเห็นทั่วไป)ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป และต้องมีศีลครบทั้ง 227 ข้อ 
(ถ้าให้ดีต้องเอา มากเข้าไว้เพราะไม่รู้ว่าจะมีรูปไหนปาราชิกหรือไม่) การทำสังฆทานคือการทำทานด้วยอาหารและบริวาร (ยกเว้นเิงิน) การถวายให้พระต่ำกว่า 4 รูปไม่ถือว่าเป็นสังฆทาน 

     การทำทานที่ได้บาป  
คนส่วนใหญ่ 90 % มักจะถวายซองเงินให้พระเวลาทำบุญ ซึ่งแทนที่จะได้บุญกลับทำให้ได้บาปแทน เนื่องจากเราทำให้พระผิดศีล (อาบัติ) 



     หากอยาก จะถวายปัจจัย(เงิน)ให้พระ แล้วไม่ให้เป็นบาป มีวิธีทำได้คือมอบเงินให้กับไวยาวัจกรหรือมัคทายกของวัดหรือบุคคลที่ติดตาม พระมา แล้วบอกถวายพระท่านว่า...ข้าพเจ้า ได้ถวายปัจจัยจำนวน....บาท โดยได้มอบให้ไว้กับไวยาวัจกรหรือมัคทายกแล้ว หากพระคุณเจ้าประสงค์จะใช้สิ่งใดให้เรียกได้จากไวยาวัจกรหรือมัคทายกตามได้ ตามประสงค์....เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นได้บุญแล้ว ส่วนเรื่องหลังจากนั้นไม่เกี่ยวกับเรา.....
----------------------------------------------------------------
   การทำบุญขั้นกลางคือการรักษาศีล

การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา เป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเอง ก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันตามลำดับต่อไปนี้คือ

1. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล 5 แม้จะได้ถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

2. การถือศีล 5 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังไก้บุญน้อยกว่าการถือศีล 8 แม้ได้ถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

3. การถือศีล 8 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล 10 คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม

4. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้วรักษาศีล 10 ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง 100 ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระสมมุติในพระพุทธศาสนามีศีล ปาฏิโมกข์สังวร 227 แม้จะบวชได้เพียงวัยเดียวก็ตาม
     
       การทำบุญที่ง่ายที่สุดและไม่ต้องลงทุนอะไรเลย คือการรักษาศีล การสวดมนต์ และการทำภาวนาสมาธิ ซึ่งการภาวนาทำสมาธิเป็นการทำบุญขั้นสูง


***แน่นอนครับว่า การรักษาศีล 5 แม้ 10,000 ครั้ง บุญก็ยังไม่เท่า นั่งสมาธิถึงขั้นเอกัคคตา เพียงครั้งเดียว***


คลิปศีลอุโบสถ #1.

1 ความคิดเห็น: